วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิวัฒนาการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2

3. ปฏิกรณ์นิวเคลียร์รุ่นที่สาม (Generation III)
พัฒนาขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2533 – 2543 โดยได้เน้นปรับปรุงในเรื่องความปลอดภัยของโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในยุคที่ 2 โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ที่เรียกว่า Passive Safety System นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องความคุ้มค่าในทางเศรษฐศาสตร์มากกว่ายุคที่2
“ยุคที่สามจะพยายามใช้คนน้อยที่สุด เพราะต้องการตัดปัญหาเรื่องความปลอดภัยที่อาจจะเกิดจากคน รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพในด้านต่างๆแต่หลักๆแล้วที่เน้นมากที่สุดคือเรื่องความปลอดภัยนี้แหละ รุ่นที่สามกำลังใช้อยู่ในปัจจุบันเอารุ่นน้ำเดือด กับ ความดันสูงมาปรับปรุง การก่อสร้างก็เร็วขึ้นจาก เจ็ดปีก็ ใช้เวลาเพียงสาม-สี่ ปี รุ่นสามก็เป็นการพัฒนาของเก่า ประสิทธิภาพสูง ทั้งการใช้งานของเครื่องในยุคที่สามมีอายุการใช้งานที่มากกว่า

นอกจากนี้ได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมโดยเรียกว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์รุ่นที่สามบวก โดยคาดว่าใน 10 ปีข้างหน้าหลายๆประเทศทั่วโลกจะใช้ระบบนี้เป็นส่วนมาก”
ในยุคที่ 3 นี้ได้พัฒนา ต่อจากยุคที่ 2 โดยในกลุ่มผู้ผลิตเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบใช้น้ำ (Light Water Reactor, LWR) ได้พัฒนาปฏิกรณ์นิวเคลียร์รูปแบบใหม่ ๆ ออกมาทั้งที่เป็นแบบน้ำความดันสูงและแบบน้ำเดือด เช่น บริษัท Westinghouse ได้พัฒนาระบบ APWR: Advanced Pressurized Water Reactor ขึ้นมาโดยออกแบบระบบความปลอดภัย และป้องกันอุบัติเหตุจากแกนปฏิกรณ์หลอมละลายให้ชื่อว่า System 80+ ซึ่งประเทศเกาหลีใต้ได้นำไปปรับปรุงเพื่อสร้างปฏิกรณ์รุ่นใหม่ของตนเอง

แต่สำหรับปฏิกรณ์ PWR ของบริษัท Westinghouse เอง คือ AP-600 มีจุดเด่นคือ มีระบบความปลอดภัยที่สามารถป้องกันอันตรายและอุบัติเหตุด้วยหลักธรรมชาติ ซึ่งแตกต่างจากระบบเดิมที่อาศัยการรักษาความปลอดภัยโดยพึ่งพากลไกและวงจรไฟฟ้ารวมทั้งมนุษย์ผู้ควบคุม ปัจจุบันประเทศจีนกำลังดำเนินการก่อสร้างเตาปฎิกรณ์รุ่นใหม่ล่าสุดของบริษัท Westinghouse คือ AP-1000 และคาดว่าจะสามารถใช้งานได้ในปี พ.ศ. 2556
ส่วนเครื่องปฏิกรณ์ BWR ก็ได้รับการปรับปรุงด้านความปลอดภัย และระยะเวลาในการก่อสร้างเช่นกัน โดยมีชื่อเรียกว่า Advanced Boiling Water Reactor (ABWR) รุ่นใหม่ ๆ เช่น ABWR รุ่นใหม่ที่ออกแบบโดยบริษัท General Electric ซึ่งกำลังถูกสร้างขึ้นในญี่ปุ่นในชื่อรุ่น GE ESBWR (Economic Simplified Boiling Water Reactor)
ส่วนเครื่องปฏิกรณ์ CANDU ซึ่งประเทศแคนาดาเป็นผู้คิดค้นขึ้นและผูกขาดในโรงงานแบบนี้ก็พัฒนาด้วยเช่นกันโดยใช้น้ำมวลหนักเป็นสารระบายความร้อนก็มีการปรับปรุงแบบใหม่คือ CANDU-9 ซึ่งพัฒนาจาก CANDU-6 นอกจากนี้แล้ว CANDU-9 ยังมีปฏิกรณ์ที่พัฒนารูปแบบยิ่งขึ้นไปอีกคือ Advanced CANDU Reactor (ACR) รุ่นล่าสุดที่มีการนำมาใช้งานคือ ACR-1000 ซึ่งมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนพลังงานความร้อนให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ดียิ่งขึ้นในปัจจุบันประเทศอินเดียเป็นประเทศหนึ่งที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเพื่อจะพัฒนาปฏิกรณ์ในระบบนี้เช่นกัน
ส่วนในฟากของ EU ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างฝรั่งเศสและเยอรมนีก็ร่วมมือกันพัฒนาเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่เรียกว่า European Pressurized Water Reactor (EPR) โดยอาศัยการปรับปรุงจาก เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แบบ PWR มีเป้าหมายสำคัญในเรื่องความปลอดภัยเช่นกัน โดยต้องการลดความเป็นไปได้ของการเกิดอุบัติภัยรุนแรงลงเป็น 1 ต่อ 10 และจำกัดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ให้อยู่ภายในเขตโรงงานเท่านั้นเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อภายนอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น