วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิวัฒนาการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จบ

4.5 โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์แบบ Supercritical-Water-Cooled Reactor System (SCWR)
โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์แบบ SCWR ได้ออกแบบการใช้นิวตรอนในการทำปฏิกิริยาฟิชชันและปฏิกิริยาลูกโซ่ทั้ง นิวตรอนย่านพลังงานสูง หรือย่านพลังงานต่ำ มีการทำงานคล้ายคลึงกับโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์แบบ BWR โดยใช้ยูเรเนียมออกไซด์เป็นเชื้อเพลิง มีน้ำเป็นตัวระบายความร้อนภายในแกนปฏิกรณ์ และออกแบบให้ทำงานในสภาวะ Supercritical จึงทำให้น้ำไม่มีการเปลี่ยนแปลงสถานะในเครื่องปฏิกรณ์
4.6 โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์แบบ Very-High-Temperature Reactor System (VHTR)
โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์แบบ VHTR เป็นโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ที่ใช้นิวตรอนย่านพลังงานต่ำ ใช้กราไฟต์เป็นสารหน่วงนิวตรอน เชื้อเพลิงเป็นยูเรเนียมเสริมสมรรถนะและวัฏจักรของเชื้อเพลิงเป็นแบบเปิด ใช้ฮีเลียมเป็นตัวระบายความร้อน
วิวัฒนาการของโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์มีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนานและไม่หยุดยั้งโดยมีวัตถุประสงค์ในการผลิตพลังงานให้เพียงต่อต่อความต้องการของประชากรโลกในปัจจุบัน สิ่งที่เหมือนกันของยุค 4 และ 3+ คือการคิดคำนึงถึงความปลอดภัยมากขึ้นโดยใช้ระบบความปลอดภัยที่เรียกว่า ใส่ระบบความปลอดภัยที่ไม่ต้องใช้มนุษย์ที่เรียกว่า Passive Safety System เข้าไป
ในปัจจุบันโลกเราอาศัยพลังงานไฟฟ้ารวมรวม 373 พันล้านวัตต์ของโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์439 โรงใน 30 ประเทศและอยู่ในระหว่างการก่อสร้างอีก 36 โรง ทั้งมีอีก 18 ประเทศที่กำลังวางแผนที่จะสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพิ่มเติมอีก 97 แห่ง (จากข้อมูลของ World Nuclear Association เดือนกันยายน 2551)

สำนักงานพลังงานนิวเคลียร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้กระทรวงพลังงานประเทศสหรัฐอเมริกาคาดการณ์ประเทศของตนต้องการพลังงาน 335 พันล้านวัตต์ในปี พ.ศ. 2568และมีแนวโน้มว่าจะมีการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่50 ถึง 60 แห่งต่อปีในช่วง 20 ปีข้างหน้า
ทั้งนี้ในปัจจุบันนี้นี้มีโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ที่นิยม 3 ประเภทคือ โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์แบบความดันสูง (Pressure Water Reactor: PWR) ที่ใช้กันทั่วโลกประมาณ 60% โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์แบบน้ำเดือด (Boiling Water Reactor: BWR) ที่ใช้กันทั่วโลกประมาณ 20 % และโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์แบบน้ำมวลหนัก (Pressurized Heavy Water Reactor: PHWR) หรือโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์น้ำมวลหนักความดันสูง ที่ใช้กันทั่วโลกประมาณ 9%

“ของไทย ตอนนี้ กำลังศึกษาอยู่ว่า เราไม่รู้จะเอาตัวไหน น่าเป็น PWR หรือ ไม่ก็ BWR ไม่สรุป แต่เราคิดว่าแบบสามมันจะปลอดภัยกว่า

จริงๆในระบบโรงสร้าง ความปลอดภัยของมันสูงมาก จนคนคิดไม่ถึงว่า พวกนี้อยู่ในโดมคอนกรีตหนาเป็นเมตร ถ้าเป็นระเบิดนี่ก็เอาอยู่ เครื่องบินชนก็ไม่พัง ระเบิดก็อยู่ในนั้น แล้วปิดตายไม่ไปยุ่งกะมัน ก็ เรื่องความปลอดภัยมันสูงมากจน เรากลัวด้วยซ้ำว่าเราจะสร้างได้รึเปล่า ที่ ญี่ปุ่นแผ่นดินไหวรั่วออกมานิดเดียวแทบจะไม่มีผลอะไร ที่น่าห่วงจริงๆไม่ใช่เรื่องของอันตรายที่จะเกิดขึ้นแต่หากมีการสร้างขึ้นเป็นเรืองที่ว่าเรามีความรู้พอจะดูแลหรือมีความรู้พอที่จะสร้างมันขึ้นมาได้หรือเปล่าต่างหาก”
เป็นคำทิ้งท้ายที่ชวนคิดของอาจารย์ ธวัชชัย อ่อนจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรงงานนิวเคลียร์ของไทย ในขณะที่วิวัฒนาการโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ยังคงรุดหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้งแต่เรายังคงตะหนกกังวลต่อปัญหาเก่าๆที่ก่อให้เกิดความกลัวขึ้นจากความไม่รู้ หากประชาชนชาวไทยสามารถพัฒนาความไม่รู้เกี่ยวกับโรงงานนิวเคลียร์ให้การเป็นเรื่องที่รู้กันโดยแพร่หลาย โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทยก็คงจะมีได้ในไม่ช้านี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น